1) ภัยจากน้ำท่วม เป็นภัยที่เกิดขึ้นได้ทุกแห่ง มีลักษณะและความรุนแรงแตกต่างกันออกไป ดังนี้คือ
1.1 การเกิดน้ำท่วมขังในที่ราบลุ่ม เนื่องมาจากความไม่สมดุลระหว่าง ก.ปริมาณน้ำฝน ข.ปริมาณน้ำฝนที่ซึมลงสู่ใต้ดิน และ ค.ปริมาณน้ำผิวดินที่ไหลหรือระบายออกจากพื้นที่นั้น ถ้าปริมาณน้ำส่วน ก. มากกว่าส่วน ข. และส่วน ค. รวมกัน ก็จะเกิดการท่วมขัง ความรุนแรงของการท่วมขังไม่มากนัก ค่อยเป็นค่อยไป แต่อาจกินเวลานานกว่าจะระบายน้ำออกได้หมด
1.2 การเกิดน้ำป่าบริเวณป่าเขาที่มีความลาดชันสูง ถ้าปริมาณฝนในพื้นที่รับน้ำมีมาก จนทำให้ปริมาณน้ำผิวดินที่ระบายออกจากพื้นที่มีมาก ด้วยอัตราที่รุนแรงเรียกว่า น้ำป่า ยิ่งถ้าป่าบริเวณนั้นถูกทำลายและปราศจากพืช ต้นไม้ปกคลุมดิน ก็จะพัดเอาเศษต้นไม้ กิ่งไม้ ตะกอน ดิน ทราย และหินลงมาด้วย ก่อให้เกิดความเสียหายแก่พื้นที่บริเวณท้ายน้ำเป็นอย่างมาก อุทกภัยจากน้ำป่ามีความรุนแรงกว่าประเภทแรก และจำเป็นต้องใช้เวลานานในการแก้ไขจนกว่าพื้นที่นั้นจะกลับฟื้นคืนสภาพดังเดิมได้
1.3 น้ำล้นตลิ่งของลำน้ำ เนื่องจากปริมาณและอัตราน้ำหลากที่เกิดขึ้นในบริเวณต้นน้ำ มีมากเกินกว่าความสามารถของแม่น้ำในบริเวณดังกล่าวที่จะรับได้ ถ้าเป็นแม่น้ำขนาดเล็กและปริมาณของน้ำหลากไม่มากนำ หรือเป็นแม่น้ำขนาดใหญ่ที่มีระบบควบคุมอัตราการไหลที่ดี เช่นมีเขื่อน อ่างเก็บน้ำ ฝายทดน้ำ หรือประตูระบายน้ำฯ ความรุนแรงและความเสียหายอันเกิดขึ้นจากอุทกภัยอาจไม่มากนำ แต่ถ้าเป็นแม่น้ำขนาดใหญ่ที่ปราศจากระบบควบคุมจะก่อให้เกิดความเสียหายมาก และเป็นวงกว้าง
1.4 น้ำท่วมอันเกิดจากการวิบัติของระบบควบคุม เช่น เขื่อนพัง อ่างเก็บน้ำแตก ประตูระบายน้ำไม่อาจทำหน้าที่ได้ จะก่อให้เกิดน้ำหลาก มีความรุนแรงมากกว่าน้ำป่า และความเสียหายที่เกิดขึ้นก็มากกว่าเช่นกัน
1.5 การเกิด และการเคลื่อนตัวของกำแพงน้ำ (ดังเชนBore หรือ Surge) มีความรวดเร็ว และรุนแรงที่สุด ปรากฏการณ์นี้ เป็นการเพิ่มระดับน้ำด้านเหนือน้ำอย่างมาก และเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว มักจะเป็นช่วงต่อระหว่างแม่น้ำกับทะเลซึ่งเป็นคอขวด ภายใต้สภาพที่เหมาะสมของลำน้ำ และทะเล น้ำท่วมจากสาเหตุนี้จะมีความรุนแรง และเป็นไปอย่างรวดเร็ว จนไม่อาจอพยพคน สัตว์เลี้ยง สิ่งของได้ทัน สภาพของความเสียหายจะเป็นไปอย่างกว้างขวาง และมากมาย
2.6 ภัยจากการเกิดแผ่นดินไหว แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น และสัมผัสได้บริเวณเปลือกโลกเป็นผลสืบเนื่องมาจากการปล่อยพลังงานออกมาเป็นจำนวนมาก และทันทีทันใดในรูปของคลื่อนแห่งความสั่นสะเทือน ซึ่งเกิดลึกลงไปใต้ดิน หรือใต้พื้นมหาสมุทรจากการเคลื่อนที่ของเปลือกโลก(Earth Crust) ตามแนวแยก (Fauts) ซึ่งเป็นไปได้ในหลายลักษณะแผ่นดินไหวในแต่ละครั้งอาจมีความรุนแรงมากน้อยต่างกัน และยังผลให้เกิดผลเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สอน ตามไปด้วยเป็นอย่างมาก แผ่นดินไหวอาจก่อให้เกิด ภูเขาไฟระเบิด หรือคลื่นใต้น้ำ (Tsunami) ซึ่งช่วยแผ่กระจายความเสียหายไปตามมวลน้ำในมหาสมุทรได้อย่างมากมาย